บทความ

อุปกรณ์ระบบประปาอาคารที่เกี่ยวข้องกับงานล้างถังเก็บน้ำอาคารสูง

14/05/2025

อุปกรณ์ระบบประปาอาคารที่เกี่ยวข้องกับงานล้างถังเก็บน้ำอาคารสูง
งานล้างถังเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นสำหรับถังเก็บน้ำขนาดเล็กในบ้านพักอาศัย หรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ในอาคารสูง จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประปาภายในอาคาร

ดังนั้น ในงานล้างถังเก็บน้ำ ผู้ทำงานจึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบประปาอาคาร และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น วาล์วลูกลอย

วาล์วลูกลอย เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับระบบการถังเก็บน้ำ โดยวาล์วลูกลอยจะทำหน้าปิดเปิดวาล์วน้ำในถังเก็บน้ำ เพื่อป้องกันน้ำก็จะไหลล้นออกจากถังน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ วาล์วลูกลอย ใช้ได้กับถังน้ำบนดินและถังน้ำใต้ดิน โดยทั่วไปแล้วจะมีสองแบบ คือ แบบกระบอกลูกสูบ และ แบบยึดห้าจุด ซึ่งการใช้งานไม่ต่างกัน

โดยเป็นระบบเปิดปิดน้ำในถัง เมื่อน้ำเต็มจนถึงระดับที่กำหนด วาล์วลูกลอยก็จะทำหน้าที่กั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าถังเก็บน้ำ เมื่อมีการใช้น้ำระดับน้ำในถังเก็บน้ำลดลง วาล์วลูกลอยก็จะเปิดให้น้ำไหลเข้ามาในถังเก็บน้ำโดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้วชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดของวาล์วลูกลอย คือลิ้นปิดน้ำซึ่งทำมาจากยางสังเคราะห์มีคุณสมบัติยืดหยุ่น โดยทำหน้าที่ปิด หรือ ซีลบริเวณบ่าวาล์วให้สนิท โดยที่ไม่เกิดการรั่วซึม โดยปกติแล้ว ลิ้นเปิด-ปิด มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

Modulating Float Valve (วาล์วควบคุมรักษาระดับน้ำ)

วาล์วควบคุมรักษาระดับน้ำ หรือเรียกอีกอย่างว่า วาล์วเติมน้ำอัตโนมัติ
มีหน้าที่เหมือนกับวาล์วลูกลอย แต่เป็นวาล์วควบคุมอัตโนมัติ ชนิด Hydraulic Control Valve แบบ Pilot Operated
ทำหน้าที่ควบคุมรักษาระดับน้ำในถังเก็บน้ำ หรือบ่อพักน้ำ ให้อยู่ในระดับที่คงที่ตามต้องการอย่างสม่ำเสมอ

  • สามารถปรับตั้งระดับน้ำในแหล่งเก็บกักได้ตามต้องการ
  • โดยใช้ Modulating Float Pilot เป็นตัวตั้งค่าและควบคุมระดับน้ำให้ได้ตามต้องการ

วาล์วหลัก
เป็นวาล์วแบบ Globe Type
ควบคุมการเปิด-ปิด หรือหรี่ช่องทางการไหลของน้ำที่ผ่านวาล์ว ด้วย แผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm Actuator)

วัสดุและคุณสมบัติ

  • เรือนวาล์วและฝาครอบทำจาก Cast Iron
  • เคลือบกันสนิมด้วย Polyester Coated
  • รูปทรงออกแบบให้รองรับอัตราการไหลได้สูง
  • โดยเกิดการสูญเสียแรงดันน้อย

Modulating Float Pilot
เป็นตัวตั้งค่าและควบคุมระดับน้ำให้ได้ตามต้องการ


Pressure Reducing Valve (วาล์วควบคุมแรงดัน)


วาล์วควบคุมแรงดัน (Pressure Reducing Valve – PRV)
เป็นวาล์วที่ทำหน้าที่ รักษาระดับแรงดัน ตามค่าที่ได้กำหนดไว้
โดยวาล์วจะทำหน้าที่ เปิดและปิด เพื่อควบคุมแรงดันของน้ำ (Water Pressure) ที่ไหลผ่าน Chamber

  • วาล์วควบคุมแรงดันจะถูกติดตั้งที่ ท่อน้ำหลัก
    เพื่อป้องกันการเกิดแรงดันน้ำมากเกินกำหนด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่ออุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ
  • ความดันที่ไม่เหมาะสมในเส้นท่ออาจทำให้ สิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำ

การใช้งานในอาคาร
วาล์วควบคุมแรงดันจำเป็นต่อการติดตั้งในอาคารที่มีการใช้ ถังเก็บน้ำบนหลังคา
เพื่อควบคุมแรงดันน้ำให้เหมาะสมกับการปล่อยน้ำลงมายังชั้นต่าง ๆ ของอาคาร

หลักการทำงาน

  • วาล์วจะตรวจสอบว่าแรงดันน้ำขาออก สูงกว่าค่าที่ตั้งไว้หรือไม่
  • ทำหน้าที่ควบคุมการเปิด–ปิด หรือ ปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • เพื่อควบคุมไม่ให้แรงดันเกินกว่าที่กำหนดไว้
    และ รักษาแรงดันให้คงที่ตลอดเวลา

การเลือกขนาดวาล์ว

  • ต้องพิจารณาจาก ขนาดของท่อน้ำ และ ปริมาณน้ำที่ต้องการให้ไหลผ่าน
  • โดยสามารถติดตั้งวาล์วควบคุมแรงดัน ต่อจากมิเตอร์น้ำ (Water Meter)
    เพื่อป้องกันแรงดันที่ไม่เหมาะสมระหว่างน้ำขาเข้าและขาออกของระบบน้ำ

คุณสมบัติของวาล์วควบคุมแรงดันที่ดี

สามารถทำงานได้ใน ทุกช่วงอัตราการไหล

ตรวจจับแรงดันผิดปกติได้อย่าง รวดเร็วและแม่นยำ

ควบคุมการเปิด–ปิด หรือควบคุมตำแหน่งของวาล์วได้อย่าง ทันท่วงที

Foot Valve (ฟุตวาล์ว)

หรือที่เรียกว่า วาล์วหัวกะโหลก
เป็นวาล์วที่ติดตั้ง บริเวณปลายท่อด้านล่างสุด ซึ่งใช้ในการดูดน้ำจากบริเวณที่ต่ำกว่าตัวปั๊มน้ำ

หลักการทำงาน

  • โดยปกติ การดูดน้ำจากที่ต่ำกว่าปั๊ม จะต้องมีน้ำหล่อหรือล่อในตัวปั๊มก่อน
  • เมื่อน้ำถูกเติมลงในปั๊ม น้ำจะไหลลงไปในท่อ
  • ฟุตวาล์วจะทำหน้าที่กั้นน้ำ ไม่ให้ไหลกลับลงไปในบ่อหรือแหล่งน้ำ
  • เมื่อเปิดปั๊มน้ำ น้ำในท่อและในตัวปั๊มจะสามารถ ดึงน้ำจากบ่อขึ้นมาได้ทันที

ในงานล้างถังเก็บน้ำของบริษัท เค-วิซ โซลูชั่น จำกัด

  • จะมีการ ตรวจเช็คฟุตวาล์ว ว่ายังอยู่ในสภาพดีหรือไม่
  • เนื่องจากระหว่างล้างถังเก็บน้ำ ระดับน้ำในถังจะลดลงจนแห้ง
  • หากฟุตวาล์ว กักน้ำไม่อยู่ น้ำจะไหลออกจากท่อฝั่งดูดทั้งหมด

Check Valve (เช็ควาล์ว)

หรือ วาล์วกันกลับ
มีหน้าที่ ป้องกันการไหลกลับ ของไหลหรือของเหลว
เพื่อป้องกันการเกิด Water Hammer ซึ่งอาจทำให้

  • เกิดเสียงดัง
  • ท่อหรืออุปกรณ์ แตกหรือเสียหายได้

อีกหน้าที่หนึ่งคือ
ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำให้ไหลไปทางเดียว
โดยมักจะ ติดตั้งคู่กับปั๊มน้ำ เสมอ

สแตนเนอร์

สแตนเนอร์ หรือ วายสแตนเนอร์ (Strainer/Y-Strainer)
เป็นอุปกรณ์สำคัญในระบบลำเลียงของไหล
มีลักษณะเป็นข้อแยก 3 ทาง โดยมีวาล์วกันกลับไม่ให้ไหลย้อนกลับมา

หน้าที่หลักของสแตนเนอร์

  • กรองเศษตะกอน หรือสิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับของไหลในระบบ
  • สิ่งแปลกปลอมจะถูกเก็บสะสมใน ไส้กรองของสแตนเนอร์
  • สแตนเนอร์จะมี บอลวาล์ว หรือ ปลั๊กอุดด้านล่าง
    สำหรับถ่ายเทของเหลวและสิ่งแปลกปลอม

การบำรุงรักษา

  • ถอด ไส้กรองมาล้าง
  • ถ่ายเทสิ่งแปลกปลอมออก
  • ช่วย ยืดอายุการใช้งาน ของสแตนเนอร์และระบบโดยรวม

บริการโดย บริษัท เค-วิซ โซลูชั่น จำกัด

บริษัทฯ ให้บริการ ถอดล้างและตรวจเช็คสแตนเนอร์
ร่วมในงานล้างถังเก็บน้ำ
โดยทีม ช่างและวิศวกรที่มีประสบการณ์
เพื่อยืดอายุการใช้งานให้กับ

  • อุปกรณ์ปั๊ม
  • วาล์ว
  • ระบบประปาภายในอาคาร

นอกจากอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น แล้ว ในระบบประปายังคงมีอุปกรณ์อีกหลายประเภท ซึ่งเราบริษัท เค-วิซ โซลูชั่นจำกัด มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งวิศวกร และ ช่างเทคนิค ที่จะทำการตรวจสอบให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนการทำงานล้างถังเก็บน้ำของเรา เพื่อให้ลูกค้า และ ผู้ใช้บริการงานล้างถังเก็บน้ำของเรามั่นใจว่า หลังทำการล้างถังเก็บน้ำแล้ว จะสามารถคืนระบบประปาในอาคารกลับมาใช้น้ำได้ตามปรกติดังเดิม
ขอบคุณข้อมูล จาก
https://www.eurooriental.co.th/
https://www.kse1993.com/
https://www.facebook.com/sflo.official

บทความน่าสนใจอื่น ๆ

รายหลัก รวมทั้ง สำนักสุขาภิบาลอาหาร และ น้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำกับผู้ใช้น้ำว่าควรต้องทำการล้างถังเก็บน้ำประปาทุก 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง ซึ่ง รายละเอียดขั้นตอนงานล้างถังเก็บน้ำ ตาม ที่ทางการประปาแนะนำ มีดังนี้
14/05/2025
อุปกรณ์ระบบประปาอาคารที่เกี่ยวข้องกับงานล้างถังเก็บน้ำอาคารสูง งานล้างถังเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นสำหรับถังเก็บน้ำขนาดเล็กในบ้านพักอาศัย หรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ในอาคารสูง จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประปาภายในอาคาร
14/05/2025
วันที่ 11 มีนาคมเป็นวันประปาโลก เนื่องจากสภาประปาโลกได้กำหนดขึ้น ในปี 2010 มันอาจเป็นเรื่องที่หลายๆคนได้มองข้ามไป แต่อย่างไรก็ตามจัดได้เลยว่ามันมีความสำคัญต่อสุขภาพและความปลอดภัยต่อประชาชนเป็นอย่างมาก
14/05/2025
การทำงานในพื้นที่อับอากาศ พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined space คือ ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และ มีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย รวมทั้งไม่ได้ออกแบบไว้เป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน
14/05/2025
เชื้อโรค หรือ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย สามารถเจริญเติบโตได้ ถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเหมาะสมของปัจจัย 3 ประการอันได้แก่ ความชื้น อาหาร(ของเชื้อโรค) และ อุณหภูมิ ซึ่งน้ำในถังเก็บน้ำหรือในระบบประปา
14/05/2025
เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัย ถ้าไม่เคย ประสบปัญหา น้ำประปา ขุ่น มีสี มีกลิ่น ที่ผิดไปจากปรกติ จะมีน้อยคนที่ได้เข้าไปเปิด ฝาถังเก็บน้ำ เพื่อตรวจสอบสภาพน้ำภายในถังเก็บน้ำ  สาเหตุที่ภายในถังเก็บน้ำอาจจะสกปรก แต่ผู้ใช้น้ำ ไม่พบปัญหา เนื่องจาก ท่อดูดน้ำที่อยู่ภายในถัง จะอยู่สูงกว่าพื้น หรือ ก้นถัง ในระดับหนึ่ง ซึ่งตะกอน หรือ สิ่งสกปรก มักจะจมอยู่ก้นถัง  ซึ่งเมื่อปั๊มทำการดูดน้ำ เพื่อส่งออกไปยังจุดใช้น้ำ ก็จะไม่ได้ดูดตะกอนก้นถังไปด้วย (แต่ถ้าสิ่งแปลกปลอมลอยน้ำ ก็มักจะลอยอยู่ผิวน้ำ ไม่ถูกดูดไปในระบบด้วยเช่นกัน) ซึ่งผู้ใช้น้ำจะไม่ทราบว่าน้ำที่ออกมาถึงแม้จะดูใส แต่อาจจะมีค่าปนเปื้อนเนื่องจากตะกอน หรือ สิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในถัง ในรูปแบบสารแขวนลอย ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า  ปรกติ บ้านพักอาศัย มักจะมีถังเก็บน้ำ เพื่อสำรองน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากในบางพื้นที่ แรงดันน้ำที่ถูกส่งมาตามเส้นท่อจากผู้ผลิตอาจมีไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถจ่ายน้ำได้ทันต่อการใช้งาน และ สำหรับอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม, โรงพยาบาล, อาคารสำนักงาน, มหาวิทยาลัย, คอนโดมิเนียม, ห้างสรรพสินค้า, โรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งต้องมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสำรองน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพราะมีปริมาณการใช้น้ำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งพร้อมกันจำนวนมาก
29/04/2025