บทความ

วิธีการล้างถังเก็บน้ำ

14/05/2025

วิธีการล้างถังเก็บน้ำ

รายหลัก รวมทั้ง สำนักสุขาภิบาลอาหาร และ น้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำกับผู้ใช้น้ำว่าควรต้องทำการล้างถังเก็บน้ำประปาทุก 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง ซึ่ง รายละเอียดขั้นตอนงานล้างถังเก็บน้ำ ตาม ที่ทางการประปาแนะนำ มีดังนี้

1. สูบน้ำ หรือ ระบายน้ำที่เหลือค้างออกให้หมด


2. กรณีที่ต้องใช้คนลงเข้าไปในถัง ต้องทำการเติมออกซิเจน ให้อยู่ในค่ามาตรฐาน ที่ 19.5% (v/v) – 23.5% (v/v) เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

3. เก็บสิ่งแปลกปลอม ขยะ ออกมาทิ้งภายนอก


4. ทำการฉีดล้างด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง

5. ทำการขัดถูทำความสะอาด ซึ่งต้องเลือกใช้แปรง หรือ อุปกรณ์ ที่ไม่ก่อความเสียหายกับถัง


6. ทำการฉีดล้างอีกครั้ง และ สูบน้ำที่เกิดจากการทำความสะอาดออกให้หมด


7. ฉีด พ่นน้ำผสมคลอรีนเข้มข้นตามจุดต่างๆ หรือ ขังน้ำผสมน้ำคลอรีนเข้มข้นก่อนปล่อยทิ้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ โดยใช้อัตราการผสม 8 mg./L


8. เติมน้ำเข้าสู่ระบบ

ขั้นตอนในการล้างต้องไม่ใช่น้ำยาเคมีสำหรับการทำความสะอาดในการล้าง เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดสารตกค้างได้ และ โดยปรกติ ควรที่จะทำการวัดค่าคุณภาพน้ำเพื่อเป็นข้อมูล 

ทั้งนี้ ในขั้นตอนการล้างถังเก็บน้ำของบริษัท เค-วิซ โซลูชั่นจำกัด ได้เพิ่มเติมรายละเอียด เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน และ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ได้แก่

1. ส่งมอบเอกสารการประเมินความเสี่ยง รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง


2. พนักงานทุกคนที่ลงไปในบ่อ,ถังเก็บน้ำ ต้องทำการล้างรองเท้า ด้วยน้ำผสมน้ำยาคลอรีนเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งใส่ชุด PPE เพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งปลอมปนติดตามร่างกายจากภายนอกถังเก็บน้ำเข้าสู่ภายในถังเก็บน้ำ

3. ร่วมกันวางแผนจัดการน้ำกับลูกค้า เพื่อป้องกันปัญหาการขาดน้ำใช้ภายในอาคาร หรือ ให้กระทบกับการใช้น้ำภายในอาคารให้น้อยที่สุด


4. หลังฉีดพ่นคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อ จะทำการเปิดหลอดรังสี UV-C เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อภายในถังเก็บน้ำอีกครั้ง

5. ทำการตรวจวัดค่าน้ำเบื้องต้นให้กับลูกค้า ได้แก่ค่าคลอรีนอิสระคงเหลือ, ค่าความขุ่น และ ค่า PH ซึ่งในกรณีที่ลูกค้ามีความต้องการให้ตรวจค่าน้ำเพิ่มเติมตามมาตรฐานต่างๆ ทางบริษัทฯ ก็มีบริการเก็บค่าน้ำเพื่อส่งให้ห้อง Lab ที่เป็นพันธมิตรของเราทำการตรวจและส่งมอบรายงานเพิ่มเติมให้ลูกค้า

6. ทำการล้างอุปกรณ์แสตนเนอร์ (ถ้ามี)


7. ทำการตรวจสอบระบบปั๊มสูบจ่ายน้ำให้เบื้องต้นก่อนคืนระบบ

8. ส่งมอบรายงานการทำงานให้ลูกค้าเพื่อใช้อ้างอิงภายใน 7 วัน หลังส่งมอบงาน

บทความน่าสนใจอื่น ๆ

รายหลัก รวมทั้ง สำนักสุขาภิบาลอาหาร และ น้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำกับผู้ใช้น้ำว่าควรต้องทำการล้างถังเก็บน้ำประปาทุก 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ครั้ง ซึ่ง รายละเอียดขั้นตอนงานล้างถังเก็บน้ำ ตาม ที่ทางการประปาแนะนำ มีดังนี้
14/05/2025
อุปกรณ์ระบบประปาอาคารที่เกี่ยวข้องกับงานล้างถังเก็บน้ำอาคารสูง งานล้างถังเก็บน้ำไม่ว่าจะเป็นสำหรับถังเก็บน้ำขนาดเล็กในบ้านพักอาศัย หรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ในอาคารสูง จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประปาภายในอาคาร
14/05/2025
วันที่ 11 มีนาคมเป็นวันประปาโลก เนื่องจากสภาประปาโลกได้กำหนดขึ้น ในปี 2010 มันอาจเป็นเรื่องที่หลายๆคนได้มองข้ามไป แต่อย่างไรก็ตามจัดได้เลยว่ามันมีความสำคัญต่อสุขภาพและความปลอดภัยต่อประชาชนเป็นอย่างมาก
14/05/2025
การทำงานในพื้นที่อับอากาศ พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined space คือ ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และ มีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย รวมทั้งไม่ได้ออกแบบไว้เป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน
14/05/2025
เชื้อโรค หรือ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย สามารถเจริญเติบโตได้ ถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเหมาะสมของปัจจัย 3 ประการอันได้แก่ ความชื้น อาหาร(ของเชื้อโรค) และ อุณหภูมิ ซึ่งน้ำในถังเก็บน้ำหรือในระบบประปา
14/05/2025
เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัย ถ้าไม่เคย ประสบปัญหา น้ำประปา ขุ่น มีสี มีกลิ่น ที่ผิดไปจากปรกติ จะมีน้อยคนที่ได้เข้าไปเปิด ฝาถังเก็บน้ำ เพื่อตรวจสอบสภาพน้ำภายในถังเก็บน้ำ  สาเหตุที่ภายในถังเก็บน้ำอาจจะสกปรก แต่ผู้ใช้น้ำ ไม่พบปัญหา เนื่องจาก ท่อดูดน้ำที่อยู่ภายในถัง จะอยู่สูงกว่าพื้น หรือ ก้นถัง ในระดับหนึ่ง ซึ่งตะกอน หรือ สิ่งสกปรก มักจะจมอยู่ก้นถัง  ซึ่งเมื่อปั๊มทำการดูดน้ำ เพื่อส่งออกไปยังจุดใช้น้ำ ก็จะไม่ได้ดูดตะกอนก้นถังไปด้วย (แต่ถ้าสิ่งแปลกปลอมลอยน้ำ ก็มักจะลอยอยู่ผิวน้ำ ไม่ถูกดูดไปในระบบด้วยเช่นกัน) ซึ่งผู้ใช้น้ำจะไม่ทราบว่าน้ำที่ออกมาถึงแม้จะดูใส แต่อาจจะมีค่าปนเปื้อนเนื่องจากตะกอน หรือ สิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในถัง ในรูปแบบสารแขวนลอย ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า  ปรกติ บ้านพักอาศัย มักจะมีถังเก็บน้ำ เพื่อสำรองน้ำให้เพียงพอ เนื่องจากในบางพื้นที่ แรงดันน้ำที่ถูกส่งมาตามเส้นท่อจากผู้ผลิตอาจมีไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถจ่ายน้ำได้ทันต่อการใช้งาน และ สำหรับอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม, โรงพยาบาล, อาคารสำนักงาน, มหาวิทยาลัย, คอนโดมิเนียม, ห้างสรรพสินค้า, โรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งต้องมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสำรองน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งาน เพราะมีปริมาณการใช้น้ำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งพร้อมกันจำนวนมาก
29/04/2025