ลีโอจิเนลลา
เชื้อโรค หรือ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย สามารถเจริญเติบโตได้ ถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความเหมาะสมของปัจจัย 3 ประการอันได้แก่ ความชื้น อาหาร(ของเชื้อโรค) และ อุณหภูมิ ซึ่งน้ำในถังเก็บน้ำหรือในระบบประปา ที่มีความชื้น ถ้ามีฝุ่นหรือกากตะกอนที่เป็นอาหารของเชื้อโรคก็อาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์จุลินทรีย์ที่เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคให้เติบโตได้
โรคลิเจียนแนร์ (Legionella) คือโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในกลุ่มลีจิโอเนลลาที่เกิดอาการเฉียบพลันในทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งกระทบได้ง่ายกับผู้อ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน โรคไต หรือแม้แต่โรคมะเร็ง การเกิดโรคอาจเกิดได้จากการหายใจเอาละอองน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือการดื่มเชื้อโรคเข้าทางปากโดยตรง
ระบบน้ำประปา ระบบน้ำดื่ม ระบบน้ำในสระว่ายน้ำ เป็นระบบที่มีความเกี่ยวเนื่องกับระบบน้ำและความชื้นทั้งหมด โดยหลักการการกำจัดเชื้อโรคที่ควรกระทำขั้นแรกคือการกำจัดทางกายภาพ นั่นคือการล้างทำความสะอาด หรือการใช้น้ำแรงดันสูงเพื่ออัดเอาสิ่งต่างๆออกจากระบบไป แต่ทว่าการใช้แรงทางกลยังมีข้อจำกัดจากการเข้าถึงจุดเสี่ยงที่อาจมีขนาดเล็กๆ หรืออยู่ในที่ลับที่คนเข้าไม่ถึง เมื่อเป็นเช่นนั้นการใช้สารเคมีจึงเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพเพื่อการกำจัดเชื้อโรค โดยทั่วไปสารกำจัดเชื้อโรคชีวฆาต (Biocide) มีอยู่สองประเภท
1. สารฆ่าเชื้อแบบออกซิไดซ์ สารเหล่านี้ง่ายต่อการแตกตัวและจะมีภาวะเสมือนแม่เหล็กชั้นดีในการดูดอิเลคตรอนเพื่อแปลงสภาพตัวเองให้อยู่ในจุดสมดุลย์ใหม่ สารเหล่านั้น อ้างถึงงานวิจัย Effects of three oxidizing biocides on Legionella pneumophila โดย American Society for Microbiology (ASM) ปรากฏสามออกซิไดซ์สามชนิดที่ใช้ในการฆ่าเชื้อคือ
1.1. คลอรีน –คลอรีนอิสระที่ประมาณ 3 mg/L
1.2. ไฮโดรเจนเปอร์ออคไซด์ – ที่ความเข้มข้น 3%
1.3. โอโซน – ที่ความเข้มข้น 0.1-0.3 mg/L
ขณะเดียวกันกับมาตราฐานของสารชีวฆาตตาม Code of Practice for Fresh Water Cooling Tower 2016 Edition by EMSD, Hongkong จะมีสารออกซิไดซ์ต่างๆได้แก่
1. คลอรีน ที่ความเข้มข้นที่ 2-20 mg/L
2. คลอรีนไดออกไซด์ที่ความเข้มข้นที่ 0.1-5 mg/L
3. โซเดี่ยมโบรไมด์
4. สารประกอบไอโอดีน
5. โอโซนที่ความเข้มข้นที่ 1-5 mg/L
6. ไฮโดรเจนเปอร์ออคไซด์
7. โซเดียมไฮโปคลอไรท์ที่ความเข้มข้นที่ 1-3 mg/L (ผสม NaOCl 4%-6% ในน้ำ 1 ลิตร)
8. แคลเซี่ยมไฮโปคลอไลท์
2. สารฆ่าเชื้อแบบไม่ออกซิไดซ์ สารที่ทำลายผิวหนังที่เป็นโปรตีนและไขมันของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสต่างๆ สารเหล่านี้ได้แก่
2.1. Quaternary Ammonium Chloride (QUATS)ที่ความเข้มข้นที่ 5-10 mg/L
2.2. คาร์บาแมทที่ความเข้มข้นที่ 12-18 mg/L
2.3. Isothiazolines ที่ความเข้มข้นที่ 0.5-2 mg/L
2.4. Glutaraldehydeที่ความเข้มข้นที่ 45-56 mg/L
ข้อแนะนำในการกำจัด และ ป้องกันการเกิดเชื้อโรคในกลุ่มลีจิโอเนลลาในระบบน้ำ และ ประปาภายในอาคาร
1. วิธีกำจัดเชื้อในระบบน้ำใช้
ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการถ่ายน้ำเก่าทิ้งออกจากระบบทั้งหมดเนื่องจากน้ำในระบบมีการนอนนิ่งเป็นเวลานานความเสี่ยงที่จุลินทรีย์มีการเติบโตรวดเร็วมีสูงมาก การถ่ายน้ำที่ดีที่สุดคือการเปิดน้ำที่ปลายท่อทุกจุดของอาคารเพื่อไล่น้ำค้างท่อออกทั้งหมด การเปิดวาลว์ให้เปิดจนสุดเพื่อให้ความแรงของน้ำดึงเอาตะกรันและสิ่งสกปรกออกตามมาด้วย หลังจากนั้นทำความสะอาดถังเก็บน้ำด้วยการฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่จับตัวเป็นเมือกตามผนังและก้นถังบรรจุพร้อมการฉีดด้วยสารออกซิไดซ์เพื่อการฆ่าเชื้อ ปล่อยน้ำในถังออกแล้วเติมน้ำใหม่เข้าในระบบพร้อมการเติมคลอรีนเพื่อให้มีคลอรีนอิสระไม่น้อยกว่า 1 mg/L ตามประกาศล่าสุดของกปน.เพื่อลดการติดเชื้อในน้ำประปา ในส่วนของหัวก๊อก สายชำระ และฝักบัว ที่เป็นจุดเสี่ยงอีกจุดหนึ่งให้นำสารออกซิไดซ์ผสมใส่ถังและนำหัวก๊อกน้ำ หัวฝักบัวและหัวสายชำระจุ่มลงในถังที่ผสมสารเพื่อการฆ่าเชื้อร่วมด้วย
2. วิธีกำจัดเชื้อในระบบน้ำอุ่นรวม
โดยปกติเชื้อโรคลิเจียนแนร์เติบโตได้ดีในอุณหภูมิช่วง 35-55 C ดังนั้นน้ำที่เก็บไว้ในถังน้ำอุ่นรวมที่ถูกปิดไว้นานๆจะเป็นแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรคได้ ให้ทำการต้มน้ำที่อุณภูมิสูงกว่า 60C หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำทิ้งและนำน้ำใหม่ชุดที่ 1 เข้าไปพร้อมกับใส่สารออกซิไดซ์จนเต็มถัง เก็บไว้สักระยะหนึ่งก่อนการปล่อยน้ำออกที่ปลายท่อที่ใช้งานเพื่อไล่น้ำเก่าค้างท่อในระบบออก แล้วจึงเติมน้ำใหม่ชุดที่2 พร้อมกับการเติมสารชีวฆาตที่ไม่ออกซิไดซ์ ก่อนการเปิดใช้งานอาคาร1 วันให้ปล่อยน้ำชุดนี้ออกอีกครั้งที่ปลายท่อน้ำที่ใช้งานเพื่อไล่น้ำในระบบออก จากนั้นจึงเติมน้ำที่จะใช้งานจริงเข้าไปเพื่อพร้อมใช้งานโดยให้ต้มน้ำที่อุณภูมิสูงกว่า 60 C ส่วนในกรณีที่เป็นระบบน้ำอุ่นแยกตามห้องต่างๆ ให้ทำการปรับอุณหภูมิน้ำสูงที่สุดและถ่ายเทน้ำเก่าออกจากระบบ ทำซ้ำหลายครั้งพร้อมการเติมสารคลอรีนที่ถังเก็บน้ำของอาคาร
3. วิธีกำจัดเชื้อระบบน้ำในสระว่ายน้ำหรือน้ำพุ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการถ่ายน้ำเก่าทิ้งออกจากระบบทั้งหมดเนื่องจากน้ำในระบบมีการนอนนิ่งเป็นเวลานานความเสี่ยงที่จุลินทรีย์มีการเติบโตรวดเร็วมีสูงมาก ให้ใช้วิธีการเดียวกับวิธีกำจัดเชื้อในระบบน้ำใช้ แต่เพิ่มการเติมคลอรีนเพื่อให้มีคลอรีนอิสระในช่วง 1-2 ppm และควบคุมภาวะกรดด่างอยู่ที่ pH7.2-7.8
4. วิธีกำจัดเชื้อในระบบน้ำดื่ม – ในกรณีที่เป็นถังน้ำแบบคว่ำถัง ให้เทน้ำในถังเก่าออกไปทั้งหมดเนื่องจากมีความเสี่ยงกับเชื้อโรค จากนั้นผสมน้ำประปากับสารออกซิไดซ์แล้วปล่อยน้ำออกจากระบบเล็กน้อยทางก๊อกน้ำดื่มเพื่อให้น้ำที่มีสารกำจัดเชื้อได้ค้างอยู่ในระบบ ปล่อยทิ้งไว้ 6 ชม.หลังจากนั้นปล่อยน้ำทางก๊อกน้ำดื่มออกทั้งหมด ทำเช่นเดียวกันกับการใช้สารชีวฆาตอื่นๆเพื่อเพิ่มความมั่นใจ จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งสนิทโดยไม่ต้องทำการเติมน้ำ เมื่อจะเปิดใช้อาคารสามารถเติมน้ำดื่มจริงได้ในช่วงไม่เกิน 1 วันก่อนเปิดทำการ กรณีเป็นระบบกรองจากน้ำประปา เมื่อทำการกำจัดเชื้อตามข้อ 1 การกำจัดเชื้อในระบบน้ำใช้ เรียบร้อยแล้วให้ทำการตรวจสอบไส้กรองทุกชิ้น หากเป็นไปได้ให้ทำการเปลี่ยนไส้กรองทั้งหมด หรืออย่างน้อยควรพิจารณาการเปลี่ยนไส้กรองแมมเบรนใหม่
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าข้อปฏิบัติที่ดีที่สุดในการกำจัดเชื้อโรค ทั้งแบคทีเรียในกลุ่มลีจิโอเนลลา หรือ เชื้อโรคอื่นๆที่อาจจะปะปนอยู่ในน้ำ ก็คือการถ่ายเทน้ำเก่าที่อยู่ในระบบ ทำการฆ่าเชื้อ ด้วยน้ำยาที่มีฤทธิในการฆ่าเชื้อโรค และ หมั่นทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบน้ำประปาที่นำมาใช้อุปโภค บริโภค ที่ผู้ใช้น้ำต้องสัมผัสโดยตรง ทั้งใช้ดื่ม ประกอบอาหาร ชำระร่างกาย และ สัมผัสผิวหนังในรูปแบบต่างๆ
บริษัท เค-วิซ โซลูชั่น จึงออกแบบขั้นตอนการทำงานล้างถังเก็บน้ำ รวมทั้งฆ่าเชื้อโรคภายในถังเก็บน้ำ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้น้ำในอาคาร สนใจรับบริการล้างถังเก็บน้ำ ถังพักน้ำ สำหรับบ้านพักอาศัย อาคารสูง ติดต่อ HOTLINE 0814673826 หรือ อีเมลล์ [email protected]
อ้างอิง
1. NCBI National Center for Biotechnology Information Electrical and Mechanical Services Department (The Government of the Hong Kong Special Administrative Region)
2. บทความโดย: กิตติคุณ คชเสนี เรื่อง BEST PRACTICE : การบริหารอาคารในสถานการณ์โรคติดต่อ ตอน: กำจัดแหล่งโรคลิเจียนแนร์ ‘ในระบบน้ำ’ ก่อนเปิดอาคาร เฟสบุ๊คเพจ Thailand Facility Management Association : TFMA