รังสี UV-C คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรในงานล้างถังเก็บน้ำ

รังสี UV-C คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรในงานล้างถังเก็บน้ำ

รังสี UV-C คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรในงานล้างถังเก็บน้ำ


รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation : UV)

เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สั้น เป็นรังสีที่ตาคนมองไม่เห็น และไม่สามารถรับรู้ได้อย่างคลื่นรังสีอินฟราเรด(IR) โดย รังสี UV-C เป็นรังสี UV ช่วงความยาวคลื่น 100 - 280 nm ซึ่งเป็นรังสีที่ มีอันตรายต่อร่างกายได้อย่างรุนแรง เช่น ผิวแดงไหม้เกรียม (Erythema) หรือ เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) ซึ่งเราประยุกต์มาทำ ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคได้

 ทั้งนี้ รังสี UV-C มีความสามารถในการทำลายเชื้อโรคหรือเรียกว่า Ultraviolet Germicidal Irradiation (UVGI) ซึ่งทำลายเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย ไวรัส ราเส้นใย ยีสต์ เป็นต้น โดยจะทำลายโครงสร้างกรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นองค์ประกอบของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเชื้อโรค โดยตามมาตรฐานสากล เช่น CIE,DIN,IESNA ระบุว่า UVGI ครอบคลุมความยาวคลื่นสั้นประมาณ 200-313 nm โดยความยาวคลื่น 260-265 nm ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่ดีเอ็นเอของดูดซับได้ดีที่สุด

content-00001รูปภาพจาก https://www.ledrise.eu/blog/disinfection-with-uv-light/

 ในธรรมชาติจะไม่พบรังสียูวีซีเนื่องจากรังสีชนิดนี้ไม่สามารถผ่านชั้นโอโซนมายังผิวโลกได้ การใช้รังสีชนิดนี้เพื่อทำลายเชื้อจึงต้องใช้แหล่งกำเนิดรังสี ได้แก่ UVC-LEDs หลอดไอปรอท เป็นต้น โดยหลอดไอปรอทที่มีแรงดันภายในหลอดต่ำ (Low-Pressure Hg discharge Lamp) หรือ มีอีกชื่อหนึ่งว่า หลอดกำจัดเชื้อโรค (Germicidal Lamp) จะเปล่งรังสี UV-C ที่ความยาวคลื่น 254 nm และเปล่งรังสี UV-C ที่ความยาวคลื่น 185 nm รองลงมา โดยแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่ปล่อยก๊าซโอโซนร่วมด้วย (Ozone Producing Germicidal Lamp) ซึ่งจะมีการเปล่งรังสี UV-C ในช่วง 254 nm / 185 nm และ ผลิตก๊าซโอโซนออกมาด้วย
2. ชนิดที่ปราศจากก๊าซโอโซน (Ozone free Germicidal Lamp) จะมีการเปล่งรังสี UV-C ความยาวคลื่น 254 nm เป็นหลัก และ ไม่ปล่อยก๊าซโอโซนออกมา หรือ ปล่อยออกมาน้อยมาก

ประสิทธิภาพการทำลายเชื้อของรังสียูวีซีในการทำลายเชื้อขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับ ความเข้มและความยาวคลื่นของรังสี สำหรับการฆ่าเชื้อในอากาศหรือพื้นผิวสามารถประเมินประสิทธิภาพจากปริมาณรังสีหรือ UV dose ซึ่งเป็นปริมาณรังสีที่เชื้อสัมผัส ถ้าเชื้อจุลินทรีย์ล่องลอยอยู่ในอากาศผลของรังสีจะเทียบเท่าค่า UV dose แต่ถ้ามีฝุ่นละอองล่องลอยในอากาศร่วมด้วย ปริมาณรังสีที่สัมผัสกับเชื้อจุลินทรีย์อาจลดลง จึงต้องใช้ระยะเวลาในการทำลายเชื้อนานขึ้น

UV dose (หน่วยไมโครวัตต์วินาทีต่อตารางเซ็นติเมตร; µWs/cm2) สามารถคำนวนโดยนำค่าความเข้มของรังสีหรือ UV intensity (หน่วยไมโครวัตต์ต่อตารางเซ็นติเมตร; µW/cm2) คูณด้วยระยะเวลาที่สัมผัสรังสีหรือexposure time (หน่วยวินาที; seconds) จากการศึกษาพบปริมาณรังสียูวีซีที่ใช้ทำลายเชื้อชนิดต่างแสดงดังตารางที่ 1 การทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือ SARS-CoV ด้วยรังสียูวีซีที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ระยะห่าง 3 เซนติเมตร ความเข้มแสง 4016 µW/cm2 สามารถกำจัดเชื้อได้หมดภายในเวลา 15 นาที หากใช้ความเข้มแสง 90 µW/cm2 ที่ระยะห่าง 80 เซนติเมตร จะต้องใช้เวลา 60 นาที จึงจะทำลายเชื้อได้หมด จะเห็นว่าประสิทธิภาพการทำลายเชื้อขึ้นอยู่กับความเข้มแสงยูวีซี ระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสง และระยะเวลา ดังนั้นการใช้แสงยูวีซีเพื่อทำลายเชื้อให้ได้ประสิทธิผลต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวร่วมด้วย

ความปลอดภัยในการใช้งาน

• ความปลอดภัยต่อร่างกาย
รังสี UV-C เมื่อสัมผัสกับผิวหนังสามารถทำให้ผิวหนังไหม้และเกิดมะเร็งผิวหนังได้ หากสัมผัสกับตาอาจทำให้เกิfอาการกระจกตาอักเสบ การมองเห็นภาพผิดปกติ หรือทำให้ตาบอดได้ โดยยูวีจะทำลายจอตา หรือ เรตินา ดวงตาสามารถทนต่อรังสียูวีซีที่ระดับความเข้ม 0.2 µW/cm2 เมื่อใช้งานจึงควรสวมแว่นตาที่สามารถป้องกันรังสียูวีซีได้
• ความปลอดภัยต่อต่อพื้นผิววัสดุ
รังสียูวีซีสามารถทำลายพันธะเคมีของพลาสติก ทำให้อายุการใช้งานของพลาสติกลดลง รวมทั้งมีผลต่อฉนวนกันความร้อน หรือปะเก็นต่างๆ ที่ทำจากยาง ทั้งนี้พลาสติกส่วนใหญ่ที่ระบุว่าทนต่อรังสียูวีคือพลาสติกที่ผ่านการทดสอบโดยใช้รังสี UV-B ไม่ใช่การทดสอบด้วยรังสี UV-C

การใช้รังสียูวีซีเพื่อฆ่าเชื้อ

• การฆ่าเชื้อในอากาศ
สามารถใช้ฆ่าเชื้ออากาศที่อยู่ในระบบปิด ไม่มีการเคลื่อนไหวของอากาศ โดยจะต้องมีการออกแบบให้บริเวณที่ต้องฆ่าเชื้อสัมผัสกับรังสีอย่างทั่วถึง หรือใช้การหมุนเวียนอากาศให้ผ่านหลอดกำเนิดรังสี เป็นต้น
• การฆ่าเชื้อในน้ำ
สามารถใช้ยูวีซีในการฆ่าเชื้อที่ปะปนอยู่ในน้ำได้โดยอาศัยการหมุนวนของน้ำผ่านหลอดกำเนิดรังสียูวีซีภายในระยะเวลาช่วงหนึ่งเพื่อให้รังสีทำลายเชื้อโรคได้หมด นอกจากนี้รังวียูวีซียังสามารถกำจัดคลอรีนหรือสารกลุ่มคลอรามีนที่ปะปนอยู่ในน้ำได้ด้วย อย่างไรก็ตามยูวีซีไม่สามารถกำจัดสารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ หรืออนุภาคต่างๆ ที่ปะปนในน้ำได้
• การฆ่าเชื้อบนพื้นผิว
สามารถใช้รังสียูวีชีในการฆ่าเชื้อที่อยู่บนพื้นผิววัสดุ โดยรังสียูวีซีที่ใช้ต้องมีความเข้มของรังสี ระยะห่าง และระยะเวลาที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมตามแต่ละชนิดของเชื้อที่ต้องการทำลายจึงจะสามารถทำลายเชื้อได้

จากประโยชน์ดังกล่าว เรา เค-วิซ โซลูชั่น จึงประยุกต์โดยทำการอาบรังสี UV-C ภายในถังหลังจากฉีดพ่นน้ำยาคลอรีนฆ่าเชื้อโรค เพื่อความมั่นใจของลูกค้าของเรา และ แน่นอนว่าเราออกแบบกระบวนการทำงานให้ปลอดภัยกับพนักงานของเราด้วยเช่นกัน

สนใจล้างถังเก็บน้ำภายในบ้าน คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล และ อาคารสูง ติดต่อ HOTLINE 0814673826 หรือ อีเมลล์ [email protected]

อ้างอิง

  1. เอกสารเผยแพร่เรื่อง รู้… สู้ไวรัส Covid-19 ตอน รังสียูวีซี (UV-C) กำจัดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ ถ้าใช้ให้ถูกวิธี ของ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ http://www.nimt.or.th/main/?p=31168
  2. บทความเรื่อง การฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี (UVC) โดย อาจารย์ ดร.ผกากรอง วนไพศาล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/488/การฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี(UVC)